นางสาว สุวนันท์ ขำมิน ชบ.12 เลขที่ 18

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สถิติการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคนไทย ปี 2556


สถิติการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคนไทย ปี 2556

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)  หรือ สพธอ. ได้เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตปี 2556 นี้ โดยได้สำรวจจากทางเว็บไซต์และ Social Network โดยมีผู้ตอบมา  23,907 ราย โดยผู้ตอบ เป็นเพศชาย 48.7% เพศหญิง 52.2%   โดยผู้ตอบมาจาก กทม. 45.9% ต่างจังหวัด 54.1% มาดูกันว่าจากการสำรวจจำนวนมากนี้ มีพฤติกรรมการใช้เน็ตอย่างไรบ้าง ?
thailand-internet-user-2553-02
ผู้ตอบสำรวจ จำแนกตามช่วงอายุ
จากผู้ตอบสำรวจ 23,907 รายนี้ พบว่าส่วนใหญ่อยู่อายุ 40-49 ปี  (กลุ่มผู้ใหญ่ ) เป็นอันดับ 1   ส่วนอันดับ 2 เป็นช่วงอายุระหว่าง 30-34 ปี  และอันดับ  3 คือช่วงอายุ 25-29 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จบใหม่ เข้าสู่วัยทำงาน
thailand-internet-user-2553-03แต่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในไทยโดยรวมแล้ว ส่วนใหญ่อยู่ระดับปริญญาตรีมากสุด มากถึงร้อยละ 60
thailand-internet-user-2553-04หากจำแนกเป็นอาชีพนั้น พบว่าเป็นอาชีพข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรอิสระ มากเป็นอันดับ 1  รองลงมาเป็นพนักงานลูกจ้าง และนักเรียนนักศึกษา ตามลำดับ
thailand-internet-user-2553-05พฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ต พบว่า ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ต ต่ากว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตน้อยกว่า 11 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 35.7 และระหว่าง 11 – 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็น ร้อยละ 25.8 นอกจากนี้ยังพบว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 105 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ หรือโดยเฉลี่ยมากกว่า 15 ชั่วโมงต่อวัน สูงถึงร้อยละ 9.0 ซึ่งจะเห็น ได้ว่า อินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจาวันไปแล้วจริงๆ

thailand-internet-user-2553-06หากเปรียบเทียบย้อนหลังเป็นรายปี พบว่า จำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2544
มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตน้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 53.6 แต่ในปี 2556 ผู้ใช้ในกลุ่มเดียวกันนี้ มีสัดส่วนลดลง เหลือเพียงร้อยละ 35.7    ในขณะที่สัดส่วนของผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สูงถึงร้อยละ 38.9 ซึ่งในปี 2544 มีเพียงร้อยละ 18.7 เท่านั้น  ซึ่งยอดการเติบโตผู้ใช้งาน Internet นี้ มาจาก การเชื่อมต่อแบบ Wifi
thailand-internet-user-2553-08ช่วงเวลาการใช้งานอินเตอร์เน็ตสูงสุด คือช่วงเวลากลางคืน  ระหว่าง 2 ทุ่ม ถึง เที่ยงคืน
thailand-internet-user-2553-09โดยหากดูช่วงอายุแล้วพบว่า กลุ่มระดับวัยเรียนชั้นประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงอายุน้อยกว่า 15 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตสูงในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนถึงหัวค่า (เวลา 16.01-20.00น.) คิดเป็นร้อยละ 41.2, กลุ่มระดับวัยเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายถึงมหาวิทยาลัย ช่วงอายุ 15-19 ปี และ 20-24 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตสูงในช่วงเวลากลางคืน (เวลา 20.01-24.00 น.) คิดเป็นร้อยละ 47.0 และ 54.5 ตามลำดับ
thailand-internet-user-2553-10โดยส่วนใหญ่จะใช้งานอินเตอร์เน็ตในการเล่นเกมออนไลน์ เพราะเป็นช่วงที่เด็กๆกลับจากโรงเรียนอยู่กับบ้านแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสถานที่ ที่ส่วนใหญ่จะใช้เน็ตที่บ้านมากที่สุด รองลงมาคือที่ทำงาน

thailand-internet-user-2553-11สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานเข้าถึงอินเตอร์เน็ต พบว่า คอมพิวเตอร์ Notebook มีคนใช้งานเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้น  และมีความนิยมสูงขึ้นด้วย รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งแนวโน้มลดลง ในเรื่องอุปกรณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ใช้บ่อยที่สุดนั้น ผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 45.0 ระบุว่า ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์พกพา สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตพีซี ตามลำดับ
thailand-internet-user-2553-12โดยเรื่องการเชื่อมต่อ wifi นั้น ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้ Free wifi  ของกระทรวงไอซีที มากถึง 64.8 % ส่วนคนที่ใช้งาน Free Wifi มีประมาณ 35.3%  โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม เยาวชน และกลุ่มผู้สูงอายุจะนิยมเชื่อมต่อผ่าน Free Wifi ของกระทรวงไอซีที
thailand-internet-user-2553-13จากผลสำรวจผู้ใช้อินเตอร์เน็ตว่าจะใช้งานอะไรบ้าง ที่ตอบมากที่สุดคือเช็คอีเมล  รองลงมาคือค้นหาข้อมูล ซึ่งหากดูกราฟแล้ว 2 อันดับแรกสูสีกันมาก
thailand-internet-user-2553-14หากแยกจำนวนกลุ่มอายุและรูปแบบการใช้งานอินเตอร์เน็ต พบว่า เรื่องเช็คอีเมล หาข้อมูล มีปริมาณการใช้สูง ทุกช่วงอายุ โดยเช็คอีเมล ตั้งแต่  ช่วงอายุ 25 ปีขึ้นไป มีอัตราการใข้อีเมล สูง แต่เด็กและเยาวชนไม่ค่อยใช้อีเมล  ที่น่าสังเกตคือเกมออนไลน์ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้เน็ตในการเล่นเกมออนไลน์เป็นจำนวนมากสูงกว่าช่วงอายุอื่นๆ


ตัวอย่างเว้บไซต์ e-commerce


https://www.kfc.co.th/value_set.php?gclid=CjwKEAiAvvyiBRDzrYuuldy6wB8SJABPJWObIaJFn5xl0cFjjAaViMuQSthXVliJknTgiRNlM5i0yhoCHMPw_wcB#url=value_set.php%3Fid%3D402
         
          เป็น e-commerce ประเภท (B2C)


http://www.misterdonut.co.th/promotion.php
         
          เป็น e-commerce ประเภท (B2C)


http://www.mkrestaurant.com/th

          เป็น e-commerce ประเภท (B2C)


http://www.olx.co.th/c1-auto/?gclid=CjwKEAiAvvyiBRDzrYuuldy6wB8SJABPJWObUdGkuY24R7TQCJjCnbrgfQe8zcJ_n-8ju_mNHDAAxxoC-KLw_wcB

          เป็น e-commerce ประเภท (C2C)


http://www.kaidee.com/

          เป็น e-commerce ประเภท (C2C)


http://www.jobth.com/price.php?gclid=CjwKEAiAvvyiBRDzrYuuldy6wB8SJABPJWObEsv7j07tABLWvRrnzOhM4BnllCnXOBDljnxF1riLWhoCVu_w_wcB

          เป็น e-commerce ประเภท (C2C)


https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php

          เป็นe-commerce ประเภท (G2C)


http://www.tui-na100.com/Data/question.asp?ID=29

          เป็น e-commerce ประเภท (G2C)


http://www.oic.go.th/content/act.htm

          เป็น e-commerce ประเภท (B2E)


http://www.set.or.th/th/products/ejip/for_listed_ejip.html

          เป็น e-commerce ประเภท (B2E)

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของ E-commerce

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Commerce) หรือ (E - Commerce)


         ประเภทของอีคอมเมิร์ซ 
    มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3     ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่ง อีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น

   อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
  1. ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต
  2. ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภท ที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เน็ต
  3. ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
  4. รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
  5. ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่น ที่อีเบย์ดอทคอม (Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
   อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้
  1. อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

    - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น
    - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
    - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวก
     
  2. อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
    - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
    - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
     
  3. อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้

    - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
    - การจัดการสินค้าคงคลัง
    - การจัดส่งสินค้า
    - การจัดการช่องทางขายสินค้า
    - การจัดการด้านการเงิน
    อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
  1. การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
     
  2. การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เน็ตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เน็ตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้ เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  3. อินเตอร์เน็ตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
     
  4. โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  5. การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  6. ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivets, Shamir and Adelman) ดีอีเอส (DES= Data Encryption Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
    อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภท สินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
  1. สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
     
  2. สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปะชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังเครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
  ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์
  ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
  กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์
  บทบาทของรัฐในการส่งเสริม E-Commerce
  ข้อดีของการใช้ E - Commerce
  ข้อจำกัดในการใช้ E-Commerce
  แนวทางแก้ไข
  กฎหมายอีคอมเมิร์ซ
  ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
     
  http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/e_commerce/03.html

องค์ประกอบของ E-Commerce

         โครงสร้างและองค์ประกอบของ E-Commerce

การทำการค้าบนเว็บไซต์นิยมแบ่งตามลักษณะของผู้ค้า และกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ค้าทำธุรกิจอยู่ด้วยซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้ คือ
Business to Business (B-to-B) : เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กรซึ่งดดยทั่วไปจะเป็นสินค้าส่งออกหรือนำเข้าที่ต้องส่งสินค้าเป็นจำนวนมากๆ จะมีการชำระเงินผ่านทางระบบธนาคาร เช่น T/T , L/C Business to Consumer (B-to-C) : เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลกหรือภายในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้อาจจะรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือค้าส่งขนาดย่อยไว้ด้วย ซึ่งการชำระผ่านระบบบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม การค้าแบบ B-to-C นี้มันทำให้เกิดการค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ และหลายบริษัทฯ มักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกันConsumer to Consumer : เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้ทางอินเทอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว รวมทั้งการขายซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากทีเดียวที่เปิดเว็บไซต์มาเพื่อขายซอฟต์แวร์ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ซึ่งผู้พัฒนาอาจจะเป็นเพียงนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นการแบ่งกลุ่มแบบคร่าวๆเท่านั้นที่จะช่วยให้ตัดสินใจว่าจะดำเนินแนวทางธุรกิจไปในรูปแบบใดในการทำธุรกิจบนเว็บซึ่งถือเป็นการเลือกคู่ค้าไปในตัว และจะต้องเตรียมตัวในลักษณะใดในการทำธุรกิจประเภทนั้น

            โครงสร้างและองค์ประกอบของระบบ E-Commerce


องค์ประกอบหลักของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้เราสามารถประกอบธุรกิจได้ผ่านทางหน้าเว็บ มีดังนี้

- เว็บเพจหรือร้านค้าบนเว็บ : ที่เราสามารถจะประกาศขายสินค้าบนระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงหน้าโฆษณาธรรมดาที่เอาไปฝากไว้กับเว็บไซต์อื่นหรือร้านอื่นเอาไว้ หรือมีชื่อร้านหรือเว็บไซต์เป็นของตนเอง เช่น www.siamgift.com, www.siamflorist.com เป็นต้น หน้าเว็บเพจสำหรับเสนอขายสินค้านี้บางทีเราจะเรียกว่า ”หน้าร้าน”

- ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ (Shopping Cart System) : เป็นระบบที่สามารถคลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเว็บเพจได้ ซึ่งจะมีช่องให้กรอกจำนวนสินค้าที่สามารถสั่งซื้อได้ โดยจะเปรียบเทียบยการซื้อแต่ละครั้งเหมือนการหยอดของลงตะกร้าหรือรถเข็น และสะสมไว้จนกว่าจะพอใจแล้วจึงชำระค่าสินค้าผ่านแคชเชียร์อัตโนมัติ (ระบบตะกร้านี้จะมีหลายรูปแบบมาก และสามารถปรับเปลียนหรือออกแบบให้เหมาะกับสินค้าหรือบริการแต่ละชนิดได้)

- Secure Payment System : เป็นระบบคำนวณเงินและชำระค่าสินค้าที่ปลอดภัยโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระผ่านทางบัตรเครดิต(ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันเราสามารถรับเงินผ่านทางเว็บด้วยบัตร Visa,AMEX,Master,SCB,และJCB ได้แล้ว ) ซึ่งการถ่ายโอนข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการรั่วไหล ระบบที่ใช้กันอยู่มากก็คือ SSL (Secure SocketLayers) แต่ก็ยังไม่ปลอดภัยนัก เพราะไม่สามารถที่จะเช็คได้ว่าผู้ถือบัตรใช่ตัวจริงหรือไม่และระบบนี้ยังบอกไดัแค่เพียงว่าร้านนี้คือใคร? จึงได้มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาคือ SET (Secure Electronic Transaction) ซึ่งจะมีการระบุว่าเป็นตัวจริงทั้งสองฝ่าย แต่ก็มีปัญหาตามมาคือในการใช้ระบบนี้จะต้องมีการลงทุนที่สูงมากจึงทำให้ไม่แพร่หลาย

ซึ่งการทำงานจริงนั้น ระบบทั้งหมดนี้จะเป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ กล่าวคือ คำสั่งซื้อที่ได้ จะถูกส่งเข้าเมล์บ็อกซ์หรือตู้จดหมายของเราอัตโนมัติ(หรืออาจจะเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัตรเครดิตก็สามารถส่งเข้าไปขอวงเงินที่ธนาคารได้อัตโนมัติ (ขึ้นอยู่กับระบบที่ใช้) โดยจะมีการแจ้งยืนยันไปที่ลูกค้าด้วยซึ่งถ้าใครขายสินค้า ที่สามารถดาวน์โหลดได้เลยก็จะได้เปรียบเพราะลูกค้าสามารถรับมอบสินค้าไปได้เลย ในขณะที่เจ้าของร้านก็ได้รับเงินเข้าบัญชีเลย แต่ถ้าไม่พร้อมที่จะเชื่อมต่อระบบอัตโนมัติ (ซึ่งอาจจะเนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายสูง) เราก็อาจให้ส่งเข้ามาที่ตู้รับจดหมายของเราก่อนก็ได้ แล้วค่อยโทรขออนุมัติวงเงินภายหลังก็ได้ (ถ้าสินค้าชนิดนั้นลูกค้าสามารถรอได้ แต่ถ้าเป็นสินค้าเช่น Ringtone หรือ Logo ก็ควรที่จะได้รับการอนุมัติเลย)

จากความจริงระบบนี้สามารถเข้าเชื่อมต่อกับระบบ Back Office ได้เลยจำพวก สินค้าคงคลังระบบวางแผนการผลิต ระบบการเงินและบัญชี เป็นต้นรวมทั้งอาจจะทำเป็นในระบบ Tracking สำหรับให้ผู้สั่งซื้อคอยติดตามความคืบหน้าของคำสั่งซื้อของเขาก็ได้ว่าตอนนี้ถึงขั้นตอนไหนแล้วเพื่อที่ลูกค้าจะได้มีความมั่นใจว่าของที่ตนสั่งซื้อไปอีกฝ่ายได้รับรู้เรื่องการสั่งซื้อนี้แล้ว
http://prthai.com/articledetail.asp?kid=56

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษElectronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) [1] หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็น ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน


ข้อดีและข้อเสียของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์[แก้]


ข้อดี
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า เพียงแค่เลือกซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
  • ประหยัดเวลาในการติดต่อ แค่ใช้เวลาไม่นานแค่เพียงไม่กี่วินาทีเราก็สามารถติดต่อซื้อสินค้าได้
  • การเปิดร้านค้าในอินเทอร์เน็ตเป็นการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในประเทศ และยังทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น
  • ผู้ขายสามารถเปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าได้ทุกวัน
ข้อเสีย
  • ผู้ซื้ออาจไม่แน่ใจว่าสั่งซื้อแล้วจะได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
  • สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ
  • เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย
  • ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้
  • ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

ประวัติอินเทอร์เน็ต เป็นการศึกษาความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต ความคิดเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายเดียวที่สามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถสื่อสารกันได้นั้นได้มีการพัฒนาผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกัน การหลอมรวมกันของการพัฒนาเหล่านั้นได้นำไปสู่เครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลายที่รู้จักกันในชื่อว่า อินเทอร์เน็ต การพัฒนาเหล่านั้นมีทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี และการรวมโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน
ความคิดเรื่องนี้ในครั้งแรก ๆ ปรากฏขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หากแต่การนำแนวคิดเหล่านี้ไปปฏิบัติได้จริงนั้นเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เทคโนโลยีซึ่งนับได้ว่าเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตสมัยใหม่นั้นได้เริ่มแพร่หลายออกไปทั่วโลก ในคริสต์ทศวรรษ 1990 การมาถึงของเวิลด์ไวด์เว็บได้ทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป

              ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า International network หรือ Inter Connection  network หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมโยงด้วย TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เดียวกันเป็นข้อกำหนด เพื่อให้เกิดการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน วิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายด้วยโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
รูปภาพประกอบจาก : http://www.rocketclicks.com/blog/how-google-spiders-your-site/
การที่มีระบบอินเทอร์เน็ตทำให้เราสามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และเสียง มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ อินเทอร์เน็ตอาจเปรียบเสมือนใยแมงมุมขนาดมหึมาที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้นจะนำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมาสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่อหนึ่ง โดยในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นสามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางโดยไม่มีเส้นทางที่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่นๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลายเส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น อาจเรียกว่าเป้นการติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace นั่นเองค่ะ

               ที่มา

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่ายโดนต้นพงศ์ ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

               การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (email), สนทนา (chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์, การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่าง ๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (video conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรืออื่น ๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก

                จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่าง ๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ

               อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]

            จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30 คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]

            อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท

ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet bandwidth) ภายในประเทศ 110 Gbps และระหว่างประเทศ 110 Gbps [3]

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95